วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สารธยายธรรม


ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในกำรสำธยำยธรรม

.....อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทําการสาธยายธรรม ตามที่ฟัง
ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ  ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

....เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

อํ. ปญฺจก. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔






วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๙ “ปฐมธรรม"



เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ

      คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว 
      นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน

สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.









วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๘ อินทรียสังวร


          อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
   
      อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำารงอยู่.
      อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย…
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.








วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๗ ฆราวาสชั้นเลิศ


ภิกษุทั้งหลาย

ความรู้สึกไดเกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก... มีอานุภาพมาก... คือ

(๑) ทาน การให้
(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,
(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐







วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๖ อานาปานสต


       ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ
ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ 
ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคเขมธรรมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า;
ภิกษุเหล่านั้น  เมื่อเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว
ซึ่งอานาปานสติสมาธิ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

      ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด  เป็นอรหันต์  สิ้นอาสวะแล้ว
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น  เมื่อเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุขวิหารในปัจจุบันด้วยเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะด้วย... .

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๓/๑๓๖๖-๖๗.


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๕ แก้กรรม?




   ภิกษุทั้งหลาย !  เรากล่าวซึ่งเจตนา  ว่าเป็นกรรม.
   ภิกษุทั้งหลาย !  เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี  เพราะความเกิดของผัสสะ.
   ภิกษุทั้งหลาย !  ความดับแห่งกรรม ย่อมมี  เพราะความดับแห่งผัสสะ.
   ภิกษุทั้งหลาย !  มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง  เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔






วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๔ มรรค...(วิธีที่)ง่าย

    ภิกษุ  ท. !    เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา 
และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ.  
เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น. 
    ภิกษุ  ท. !   มิจฉาปฏิปทา เป็นอยางไรเล่า ?  
มิจฉาปฏิปทานี้คือ มิจฉาทิฏฐิ  มิจฉาสังกัปปะ 
มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ  
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ  มิจฉาสมาธิ.  
ภิกษุ ท. !    นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา. 
    ภิกษุ ท. !    สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? 
 สัมมาปฏิปทาน นี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ  
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ  
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.  
ภิกษุ  ท. !    นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๖๕-๖๗.






วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ



    อานนท์ !  พวกเธอทั้งหลาย
จงมีตนเป็นประทีป  มีตนเป็นสรณะ
อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย;
จงมีธรรมเป็นประทีป  มีธรรมเป็นสรณะ
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.


มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.






วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๒ คู่มือโสดาบัน

     สารีบุตร !   ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน  
โสดาบัน ดังนี้  เป็นอย่างไรเล่า  สารีบุตร ? 
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! 
ท่านผู้ใด  เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
 ผู้เช่นนั้นแล  ข้าพระองค์เรียกว่า เป็นพระโสดาบัน 
ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ   มีโคตรอย่างนี้ ๆ   พระเจ้าข้า !”
    
 สารีบุตร !   ถูกแล้ว  ถูกแล้ว 
ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ 
ถึงเราเอง ก็เรียกผู้เช่นนั้นว่า เป็น พระโสดาบัน 
ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ  มีโคตรอย่างนี้ ๆ.

มหาวาร. สํ. ๑๙ /๔๓๕/๑๔๓๒ – ๑๔๓๓.




วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล 
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย 
...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย,


     ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ 
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง 
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่,
สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม,
สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่...

มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒