วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำไมต้องศึกษา"พุทธวจน"

รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่แต่คำสอนของ
พระพุทธเจ้า

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สารธยายธรรม


ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในกำรสำธยำยธรรม

.....อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทําการสาธยายธรรม ตามที่ฟัง
ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ  ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

....เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

อํ. ปญฺจก. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔






วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๙ “ปฐมธรรม"



เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ

      คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว 
      นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน

สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.









วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๘ อินทรียสังวร


          อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
   
      อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำารงอยู่.
      อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย…
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.








วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๗ ฆราวาสชั้นเลิศ


ภิกษุทั้งหลาย

ความรู้สึกไดเกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก... มีอานุภาพมาก... คือ

(๑) ทาน การให้
(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,
(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐







วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๖ อานาปานสต


       ภิกษุทั้งหลาย !  ภิกษุเหล่าใดยังเป็นเสขะ
ยังไม่ลุถึงธรรมที่ต้องประสงค์แห่งใจ 
ปรารถนาอยู่ซึ่งโยคเขมธรรมอันไม่มีอะไรยิ่งกว่า;
ภิกษุเหล่านั้น  เมื่อเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว
ซึ่งอานาปานสติสมาธิ
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

      ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด  เป็นอรหันต์  สิ้นอาสวะแล้ว
มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น  เมื่อเจริญแล้ว  ทำให้มากแล้ว ซึ่งอานาปานสติสมาธิ ย่อมเป็นสุขวิหารในปัจจุบันด้วยเพื่อความสมบูรณ์แห่งสติสัมปชัญญะด้วย... .

มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๓/๑๓๖๖-๖๗.


วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๕ แก้กรรม?




   ภิกษุทั้งหลาย !  เรากล่าวซึ่งเจตนา  ว่าเป็นกรรม.
   ภิกษุทั้งหลาย !  เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี  เพราะความเกิดของผัสสะ.
   ภิกษุทั้งหลาย !  ความดับแห่งกรรม ย่อมมี  เพราะความดับแห่งผัสสะ.
   ภิกษุทั้งหลาย !  มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง  เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔






วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๔ มรรค...(วิธีที่)ง่าย

    ภิกษุ  ท. !    เราจักแสดงซึ่ง มิจฉาปฏิปทา 
และสัมมาปฏิปทา แก่พวกเธอ.  
เธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งข้อความนั้น. 
    ภิกษุ  ท. !   มิจฉาปฏิปทา เป็นอยางไรเล่า ?  
มิจฉาปฏิปทานี้คือ มิจฉาทิฏฐิ  มิจฉาสังกัปปะ 
มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ  
มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ  มิจฉาสมาธิ.  
ภิกษุ ท. !    นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา. 
    ภิกษุ ท. !    สัมมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? 
 สัมมาปฏิปทาน นี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ  
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ  
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.  
ภิกษุ  ท. !    นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา
มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๒/๖๕-๖๗.






วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๓ ก้าวย่างอย่างพุทธะ



    อานนท์ !  พวกเธอทั้งหลาย
จงมีตนเป็นประทีป  มีตนเป็นสรณะ
อย่าเอาสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย;
จงมีธรรมเป็นประทีป  มีธรรมเป็นสรณะ
อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.


มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๒๘.






วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๒ คู่มือโสดาบัน

     สารีบุตร !   ที่มักกล่าวกันว่า โสดาบัน  
โสดาบัน ดังนี้  เป็นอย่างไรเล่า  สารีบุตร ? 
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! 
ท่านผู้ใด  เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่
 ผู้เช่นนั้นแล  ข้าพระองค์เรียกว่า เป็นพระโสดาบัน 
ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ   มีโคตรอย่างนี้ ๆ   พระเจ้าข้า !”
    
 สารีบุตร !   ถูกแล้ว  ถูกแล้ว 
ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยอริยมรรคมีองค์แปดนี้อยู่ 
ถึงเราเอง ก็เรียกผู้เช่นนั้นว่า เป็น พระโสดาบัน 
ผู้มีชื่ออย่างนี้ ๆ  มีโคตรอย่างนี้ ๆ.

มหาวาร. สํ. ๑๙ /๔๓๕/๑๔๓๒ – ๑๔๓๓.




วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล 
เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย 
...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย,


     ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ 
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง 
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่,
สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม,
สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน่...

มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒