วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำไมต้องศึกษา"พุทธวจน"

รักษาศาสนาพุทธ ด้วยการช่วยกัน
ศึกษา ปฏิบัติ และเผยแผ่แต่คำสอนของ
พระพุทธเจ้า

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๑๐ สารธยายธรรม


ข้อควรระวังและวิธีป้องกันในกำรสำธยำยธรรม

.....อีกอย่างหนึ่ง, ภิกษุ ทําการสาธยายธรรม ตามที่ฟัง
ได้เรียนมาโดยพิสดาร, แต่เธอไม่รู้ทั่วถึงความหมายอันยิ่งแห่งธรรมนั้นๆ  ด้วยปัญญา. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้มากด้วยการสวด (นักสวด) ยังมิใช่ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

....เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรมนั้นๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ประกอบตามซึ่งธรรมเป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม)....

อํ. ปญฺจก. ๒๒/๙๙-๑๐๐/๗๓-๗๔






วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๙ “ปฐมธรรม"



เข้าใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ

      คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเข้าใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว 
      นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน

สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.









วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๘ อินทรียสังวร


          อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ
   
      อานนท์ ! อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ–ไม่เป็นที่ชอบใจ
เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น
ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน อุเบกขายังคงดำารงอยู่.
      อานนท์ ! นี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยวินัย…
อุปริ. ม. ๑๔/๕๔๑/๘๕๖.








วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555

พุทธวจน ฉบับ ๗ ฆราวาสชั้นเลิศ


ภิกษุทั้งหลาย

ความรู้สึกไดเกิดขึ้นแก่เราว่า ผลวิบากแห่งกรรม ๓ อย่างนี้แล
ที่ทำให้เรามีฤทธิ์มาก... มีอานุภาพมาก... คือ

(๑) ทาน การให้
(๒) ทมะ การบีบบังคับใจ,
(๓) สัญญมะ การสำรวมระวัง, ดังนี้

อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๔๐/๒๐๐